71/1 ซอยเจริญพร 2 ถนนประดิพัทธ์
แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์
087 486 7777
อีเมล์
spansystems@span-systems.com

งานด้านธรณีเทคนิค (Geotechnical)

งานด้านธรณีเทคนิคของบริษัทฯ ได้ถูกนำไปใช้ในการป้องกันการพังทลายของดิน ในการรองรับน้ำหนักของโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในทุกภูมิภาคของโลก Dywidag เป็นบริษัทฯ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการผลิตและจัดหาระบบธรณีเทคนิคต่างๆ ด้วยประสบการณ์และความชำนาญในสายงานนี้มากกว่า 50 ปี

เสถียรภาพและความแข็งแรง

ระบบธรณีเทคนิคของ Dywidag สามารถนำไปใช้ในการป้องกันการพังทลายของดิน (Slope) ใช้ยึดกำแพงกันดิน เพื่อให้สามารถเปิดงานขุดดินในระดับลึก ในการทำงานก่อสร้างฐานรากต่างๆ ได้

การให้บริการงานดึงลวดและทดสอบลวด

Dywidag มีศักยภาพในการให้บริการสำหรับงานดึงลวดและทดสอบลวดประเภทต่างๆ สำหรับงานสมอยึดดิน (Ground Anchor) สลักยึดดิน (Soil Nail) และเสาเข็มรับแรงดึง (Tension Pile) และนอกจากนี้ยังมีเครื่องมือและอุปกรณ์จำนวนมาก ที่ลูกค้าสามารถเช่าไปใช้ในงานเฉพาะทางต่างๆ ได้

อุปกรณ์เสริมสำหรับระบบติดตามผล (Monitoring System)

ทีมงานวิศวกรของเราสามารถทำการติดตั้งระบบธรณีเทคนิคแบบอัจฉริยะ ซึ่งสามารถที่จะให้ข้อมูลและสถานะของโครงสร้างที่สำคัญต่อการตัดสินใจ เพื่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ได้อย่างทันท่วงที เรามีประสบการณ์ในการกำหนดขอบเขตของโครงการที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าระบบของเราตอบโจทย์ความต้องการของท่าน ด้วยงบประมาณที่ประหยัดและสมเหตุสมผล

การให้บริการที่ครอบคลุมทั่วโลก

เรามีฐานการผลิตในพื้นที่หลักๆ ทั่วโลก และมีสายการผลิตแบบชั่วคราวสำหรับโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้น เราจึงมีศักยภาพในการทำงานที่อยู่ในท้องถิ่นต่างๆ ได้ทั่วโลก

สายงานการให้บริการ

งานขุดดิน

งานขุดดินขนาดใหญ่ที่มีการขุดในระดับที่ลึก มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ก่อสร้างที่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งสมอยึดดิน (Ground Anchor) ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งสำหรับงานทางวิศวกรรมที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่งประเภทนี้ โดยที่หลายๆ ครั้ง สมอยึดดินเป็นวิธีเดียวที่สามารถช่วยเสริมกำลังให้บ่อขุดยังคงอยู่ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ การใช้สมอยึดดินมักจะเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้โครงค้ำยันที่เป็นเหล็กหรือคอนกรีต และยังไม่เกะกะกีดขวางการทำงานในพื้นที่ ไม่ทำให้เกิดอุปสรรคในการเดินปั้นจั่น ไม่มีความเสี่ยงที่โครงค้ำยันอาจเกิดการโก่งตัว และสามารถเลือกใช้ระดับของแรงในสมอได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ ยังสามารถถอนสมอออกจากดินหลังจากที่เสร็จงานได้หากต้องการ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่องานก่อสร้างในขั้นตอนถัดไป เนื่องจากระบบสมอยึดดินนี้เป็นแบบที่มีแรงกระทำ (Active System) จึงมีการอัดแรงในสมอยึดดิน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและควบคุมการโก่งตัว (Deformation) ของหลุมขุดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการคำนวณหาค่าแรงที่ต้องการใช้ก่อนเริ่มทำการขุดดิน เพื่อให้งานก่อสร้างมีความปลอดภัยสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับความปลอดภัยของอาคารข้างเคียงอีกด้วย สำหรับงานขุดที่ไม่มีการโก่งตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจนำระบบแบบไม่มีแรงกระทำ (Passive System) อาทิเช่น สลักยึดดิน (Soil Nail) หรือเสาเข็มรับแรงดึง (Tension Pile) มาใช้ได้

การเสริมเสถียรภาพของลาดดินและการขุดลาดดิน

การพัฒนาะและการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทำให้เกิดความต้องการอย่างมีนัยสำคัญในด้านของการจัดเส้นทาง การขยายทางหลวง โดยการเพิ่มเลน มักจะเกี่ยวข้องกับการทำงานดิน ที่ทำให้เกิดมุนดินที่สูงขึ้น ในส่วนที่ตัดผ่านลาดดินและภูเขา ส่วนหน้าของโครงสร้างที่ใช้สร้างเสถียรภาพให้แก่ลาดดิน ได้แก่ โครงสร้างหรือกำแพงที่สร้างขึ้นจากการพ่นคอนกรีต (Shotcrete)  ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตที่หล่อมาจากโรงงาน (Segment) มักจะถูกยึดเข้ากับดินโดยใช้สลักยึดดิน (Soil Nail)

วิธีนี้ก็สามารถใช้ยึดตาข่ายกันหินร่วงเข้าไว้กับหินเช่นกัน ตะปูดินทำหน้าที่ในการสร้างเสถียรภาพและความแข็งแรงของดิน โดยลิ่มของดิน (Soil Wedge) ทั้งส่วนซึ่งรวมถึง Slip Circle จะถูกตอกและปลอดภัยจากการพลิก ไหล เลื่อน การวิบัติจากแรงเฉือนและการสูญเสียตำแหน่ง ระบบ Passive Systems มักจะถูกนำมาใช้ในกรณีนี้ เนื่องจากการโก่งตัวของระบบรองรับลาดดินไม่มีผล โดยส่วนมากตะปูดินจะรับแรงกระทำ เมื่อเกิดการเคลื่อนตัวของลาดดินหรือหน้าดินเท่านั้น เมื่อมีแรงกระทำเต็มที่ (full load) แรงดันดินจะถูกดูดซับและจะถ่ายแรงไปยังตะปูดินทั้งหมด

ในกรณีที่การโก่งตัวมีความสำคัญในการสร้างเสถียรภาพของลาดดินของโครงการ ให้นำระบบ Active System เช่น สมอยึดดิน (Ground Anchor) มาใช้

งานฐานรากและงานเสริมฐานราก

ในปัจจุบันมีการเสริมกำลังของฐานรากเดี่ยว ฐานรากแกบ และฐานรากแพ ด้วยไมโครไพล์มากขึ้น ซึ่งวิธีนี้สามารถถ่ายน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยและถาวร ไปยังชั้นดินที่รับแรงแบกทานได้ ความเป็นจริงคือ การที่ไมโครไพล์สามารถติดตั้งได้โดยใช้เครื่องเจาะขนาดเล็ก ที่ไม่กินพื้นที่มาก จึงเป็นเหตุผลหลักที่ถูกนำมาใช้ในโครงสร้างลักษณะดังกล่าว สามารถใช้ฐานรากไมโครไพล์ในที่แคบๆ เข้าถึงได้ยาก ซึ่งรวมถึงชั้นใต้ดิน ที่ว่างใต้พื้นสะพาน ฯลฯ น้ำหนักที่เบาเป็นพิเศษ และการรับรองได้ว่าจะได้ระดับชั้น Ground ตามที่กำหนด ก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้การเสริมกำลังของฐานราก หรือการจัดการกระจายน้ำหนักในภายหลัง สามารถกระทำได้รวดเร็ว และง่ายดาย

วิธีนี้ประสบความสำเร็จจากความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมระหว่างเส้นผ่านสูนย์กลางของหลุมเจาะกับแรงที่ถ่ายลงไป เมื่อใช้ไมโครไพล์เป็นเสาเข็มรับ Skin friction ไมโครไพล์ซึ่งมี Steel Ratio ที่สูงมาก จะสามารถถ่ายแรงลงหลุมเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่สุดถึง 300 มม. และมีความลึกถึง 80 เมตร และมากกว่านั้น ลงไปในดินชั้นล่าง (Sub soil) ยิ่งกว่านั้น GEWl® และ GEWl® Plus ยังสามารถถ่ายแรงดึง แรงอัด และ Alternating load

การก่อสร้างงานชลประทาน โรงไฟฟ้า และเขื่อน

ข้อกำหนดใหม่ๆ และระดับน้ำสูงสุดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องก่อสร้างกำแพงกันดินและเขื่อนด้วยข้อกำหนดที่สูงขึ้น โครงสร้างที่มีอยู่เดิมจำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดฉบับใหม่สำหรับเสถียรภาพภายใต้แรงดันจากการเยือกแข็งที่สูงขึ้น แรงแผ่นดินไหวที่ปรับปรุงใหม่ และข้อกำหนดใหม่ๆ ในเรื่องของความซึมน้ำ (impermeability) และเสถียรภาพในตำแหน่งต่างๆ (position stability) หรือเสถียรภาพในการต้านการพลิกคว่ำ

สำหรับงานซ่อมแซมและเสริมความแข็งแรง กำลังรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทาย บ่อยครั้งสามารถทำได้โดยการใส่สมอเป็นจำนวนมากในส่วนโครงสร้างของเขื่อน ในกรณีนี้ มีการทำหลุมเจาะในแนวตั้งจากยอดเขื่อน และกำแพงเขื่อนจะถูกยึดที่ส่วนด้านล่างด้วยสมอยึดดิน (Ground Anchor) สำหรับแรงยกนั้น สามารถแก้ปัญหาได้โดยการใส่ Anchor ในบริเวณโครงสร้างส่วน Overflow และยึดส่วนของ Basins กับดินอย่างถาวร โดยใช้สมอยึด (Anchor) หรือเสาเข็มรับแรงดึง (Tensile Pile)

ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ กำแพงเขื่อนสามารถรับแรงกระทำที่เกิดขึ้นอย่างปลอดภัยด้วย Anchor (ในกรณีของแรงดึงเท่านั้น) หรือไมโครไพล์ (Micropile) (แม้ในกรณีของ Alternate Load)

ในส่วนของ Caissons ที่ประกอบด้วยเสาเข็มพืด (Sheet Pile) ที่ปักลงไปในดิน ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับ cofferdams หรือ new quays โครงสร้างเหล่านี้จะประกอบขึ้นที่ส่วน Head โดยใช้ระบบ tie rod ซึ่งทำให้มีเสถียรภาพในการรับแรง uplift ในระหว่างการถมทราย และสามารถต้านทานต่อน้ำหนักบรรทุก เนื่องจากน้ำหนักคงที่และการจราจร

การควบคุมแรงยก (Uplift Control)

แรงยกสามารถเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างของฐานรากแบบต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นกับระดับน้ำที่ปรากฏหรือน้ำหนักบรรทุกเพิ่ม (Superimposed Loads) ต่างๆ พื้นชั้นล่างสุดของหลุมขุดในการก่อสร้าง (คอนกรีตเสริมเหล็กใต้น้ำ หรือพื้นที่รับแรงดันสูง) จะต้องมีการเสริมความแข็งแรงชั่วคราวในระหว่างทำการก่อสร้าง เช่นเดียวกันกับโครงสร้างลักษณะเป็นท่อ (Trough Structure) เช่น ทางเข้าอุโมงค์สำหรับการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน Tension Pile ได้ถูกใช้เพราะเป็นทางเลือกที่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับ Mass Concrete ถ้าความแม่นยำของตำแหน่งที่ติดตั้งมีความสำคัญเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่กำลังก่อสร้าง Dry Dock ก็สามารถใช้ Tension Pile ได้ ข้อได้เปรียบที่สำคัญของการก่อสร้างระบบนี้ มีผลมาจากเวลาการก่อสร้างที่ลดลง เนื่องจากมีการทำงานขุดดินน้อยลง และความหนาของพื้นที่ก้นหลุมที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม อาจเกิด Alternating load จากการควบคุมแรงยกของเสาเข็ม อาทิเช่น งานตรวจสอบใน Settling basin ในกรณีเช่นนี้แรงกระทำอาจะเปลี่ยนให้ประหยัดขึ้นจากแรงอัดเป็นแรงดึงโดยไม่มีปัญหาใดๆ

Tie Rods และ Braces

ระบบ Tie Rods ถูกนำมาใช้ในกรณีที่มีสองจุดหรือมากกว่านั้น ในโครงสร้างที่ต้องการเสถียรภาพเมื่อเทียบกับจุดอื่นๆ Earth filled Dam ซึ่งได้รับการทำให้เกิดเสถียรภาพด้านข้างโดยการตอกเข็มพืด จะใช้ Tieback เพื่อสร้างเสถียรภาพที่ Head Cross Ties ซึ่งมีกำลังรับแรงดึงได้สูงมาก สามารถนำมาเสริมสร้างเสถียรภาพได้ดี แรงกระทำด้านข้างที่เกิดขึ้นในฐานรากเดี่ยวและฐานรากแกบก็สามารถถ่ายออกไปด้วยการใช้ Tie Rods

ระบบสมอยึดสำหรับรับแรงดึง

แรงดึงในดินสามารถดึงรั้งไว้ได้โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยใช้สมอยึดดิน (Ground Anchor) หรือเข็มรับแรงดึง (Tension Pile) สามารถงดเว้นการใช้น้ำหนักถ่วงที่โครงสร้างกำแพงกันดินที่มีน้ำหนักมากและมีขนาดใหญ่โตได้ เนื่องจากแรงดึงถูกถ่ายลงไปในดิน ดังนั้นจึงมีเพียง Transition Structure และ Connection ที่อยู่บนผิวดินเท่านั้น ทั้งนี้มีวิธีการทางวิศวกรรมโยธาที่แตกต่างกันหลายวิธีให้เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของชั้นดินที่รับแรง ระบบ Anchorage นี้สามารถใช้ได้ในดินที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ซึ่ง Dywidag Systems มีผลงานที่พิสูจน์ถึงการใช้งานและความคุ้มค่าในดินทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น หิน Cohesive Soil เช่น ทรายและกรวด non cohesive soil เช่น clay และ silt   Organic Soils ที่มีหรือไม่มีน้ำใต้ดิน หรือแม้กระทั่งดินที่เป็นน้ำแข็งและน้ำแข็งขั้วโลก

เสถียรภาพในการต้านการพลิกคว่ำ

โครงสร้างที่เสี่ยงต่อการล้มลง เช่น เสา หอคอย หรือกังหันลมสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า สามารถเสริมสร้างเสถียรภาพได้โดยใช้ไมโครไพล์ ไมโครไพล์สามารถรับได้ทั้งแรงดึง แรงอัด และ Alternating Load เนื่องจากเป็นระบบแบบ Passive และมีการ Grout น้ำปูนในท่อ สมอยึดดินที่มีการอัดแรงยังสามารถถูกนำมาใช้ในการถ่ายแรง เพื่อลดการทรุดตัว การโก่งตัว และการขยับตัว แรงอัดที่เกิดขึ้นจะถูกดูดซับผ่านฐานรากที่ตื้น แต่แข็งแรง หรือผ่านเสาเข็มรับแรงอัดที่ใส่เพิ่ม ดังนั้นแรงและการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้น สามารถทำให้ลดลงหรือป้องกันได้ โครงสร้างยังสามารถที่จะเสริมความแข็งแรงได้ในภายหลัง หากพบว่าฐานรากมีการรับน้ำหนักที่เกินกำลัง หรือถ้ามีแรงกระทำภายนอกที่มีความรุนแรง (เช่น แรงลม แรงแผ่นดินไหว แรงจากหิมะ ฯลฯ)